ประกาศข่าว

ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่เว็บไซต์ โรงเรียนบ้านโคกวิทยา ค่ะ ^_^

วันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2555

สภาพชุมชนโดยรอบ


สภาพชุมชน ขนาดประชากรในเขตพื้นที่บริการ ศาสนา อาชีพ 
สภาพเศรษฐกิจ(รายได้ต่อหัว) สภาพสังคม / ชุมชน
(ชีวิตความเป็นอยู่ ระดับความสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษากับชุมชน
 ระดับความเข้มแข็งของชุมชน) ภูมิปัญญาชาวบ้าน เช่น
                -  ผู้ปกครองส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับ      ประถมศึกษา
                -  ผู้ปกครองส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ            เกษตรกร
                -  ผู้ปกครองส่วนใหญ่นับถือศาสนา               พุทธ
                -  ข้อจำกัดของโรงเรียน
                บริเวณโรงเรียนมีจำกัด  จึงทำให้ไม่สามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้
อย่างเต็มที่  เช่น   การปลูกผัก  การจัดทำสนามกีฬา

ข้อมูลเกี่ยวกับทรัพยากร


ข้อมูลเกี่ยวกับทรัพยากร
                อาคาร สถานที่ (จำนวนอาคาร ห้องเรียน ห้องสมุด อื่น ๆ)

อาคารเรียน
1.  อาคารเรียน  แบบ  ป. 1ซ  (ใต้ถุนสูงจำนวน  ห้องเรียน   
ก่อสร้างเมื่อ  สิงหาคม  พ.. 2514   งบประมาณ  90,000  บาท  จากงบประมาณของทางราชการ
2.  อาคารเรียน  แบบ  ศก.04    2  ชั้น  ห้องเรียน   สร้างเมื่อ  พ..  2522   
งบประมาณ  420,000  บาท    จากงบประมาณของทางราชการ
3.  อาคารเรียน  แบบ  สปช.  105/2526  (ปรับปรุง 2529)  จำนวน  3   ห้องเรียน  
สร้างเมื่อ  ตุลาคม พ..  2529   งบประมาณ  570,000  บาท    จากงบประมาณของทางราชการ
4.  อาคารอเนกประสงค์   แบบ  ศก. 21   สร้างเมื่อ  พ..  2522   
งบประมาณ  60,000  บาท    จากงบประมาณของทางราชการ
5.  บ้านพักครู  มีทั้งหมด  หลัง 
                                                -   แบบ ศก.  14    สร้างเมื่อ  10  มีนาคม  พ..  2518  งบประมาณ  40,000  บาท 
                                                     จากงบประมาณของทางราชการ
                                                -  แบบ ศก.  14    สร้างเมื่อ  กันยายน  พ..  2519  งบประมาณ  40,000  บาท 
                                                     จากงบประมาณของทางราชการ
    -   แบบ ศก14 . สร้างเมื่อ  30  มกราคม   พ.. 2523 งบประมาณ  95,000  บาท 
จากงบประมาณของทางราชการ
6.    เรือนเพาะชำ  แบบ  พ.1 สร้างเมื่อ  พ..  2530   งบประมาณ  15,000  บาท    
จากงบประมาณของทางราชการ  (ปัจจุบันชำรุดและรื้อถอนแล้ว)
8.    ศาลาประดิษฐานพระพุทธรูป  สร้างเมื่อ  พ..  2532   งบประมาณ  25,000  บาท    
จากงบประมาณชาวบ้านบริจาค
9.    ส้วม  แบบ  สปช.  601/2526   4  ที่   สร้างเมื่อ  พ..  2533  งบประมาณ  60,000  บาท    
จากงบประมาณของทางราชการ
10. ห้องส้วม   แบบ ศก.  32    5  ที่  พร้อมที่ปัสสาวะชาย  สร้างเมื่อ  พ..  2523   
งบประมาณ  30,000  บาท    
จากงบประมาณของทางราชการ  (ปัจจุบันชำรุดและรื้อถอนแล้ว)
11. ประปา สร้างเมื่อ พ.. 2533 งบประมาณ 25,000 บาท งบประมาณจากการบริจาค
12. ถังน้ำซีเมนต์  แบบ  ฝ.30   พิเศษ   ชุด   สร้างเมื่อ  พ..  2533  และ พ.. 2535    
งบประมาณชุดละ    65,000  บาท    จากงบประมาณของทางราชการ
13. ประปาหมู่บ้านสร้างเมื่อ  พ..  2534   งบประมาณ  300,000  บาท    
จากงบประมาณของทางราชการโดยกรมโยธาธิการ  (ปัจจุบันชำรุดรอการซ่อมแซม)
14. ซุ้มประตูและรั้วโรงเรียน  สร้างเมื่อ  พ..  2537   จากงบประมาณจากการบริจาค


ข้อมูลบุคลากร


ข้อมูลครูและบุคลากร นำเสนอเป็นตาราง เช่นเดียวกับข้อมูลนักเรียน
                ชื่อ อายุ ตำแหน่ง วุฒิ  วิชาเอก ประสบการณ์  สอนชั้น/วิชา


ข้อมูลนักเรียน


ข้อมูลนักเรียน    
เช่น  ระดับชั้นที่เปิดสอน ตารางจำแนกนักเรียน ชาย หญิง จำนวนห้องเรียน
ตัวอย่าง  ข้อมูลนักเรียน
                ปัจจุบันเรียนมีข้อมูลเกี่ยวกับนักเรียนดังนี้
                1)  จำนวนนักเรียนในเขตพื้นที่บริการทั้งหมด 139 คน นอกเขตพื้นที่บริการ  1  คน
                2)  จำนวนนักเรียนจำแนกตามระดับชั้นที่เปิดสอน (ข้อมูล ตุลาคม  2555)

                3)  มีนักเรียนที่มีความบกพร่องเรียนร่วม    21    คน
                4)  นักเรียนมีภาวะทุพโภชนาการ               10    คน
                5)  มีนักเรียนปัญญาเลิศ                                   7    คน
                6)  มีนักเรียนต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ     -   คน
                7)  จำนวนนักเรียนต่อห้อง(เฉลี่ย)                  18       คน
                8)  อัตราส่วนครู : นักเรียน                               18       คน
                9)  จำนวนนักเรียนที่ลาออกกลางคัน(ปัจจุบัน)  -    คน
                10) สถิติการขาดเรียน / เดือน                                      คน


คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

1. นายสำราญ  เพ็งกระจ่าง  ผู้ทรงคุณวุฒิ   ประธานคณะกรรมการสถานศึกษา
2. นายสวย  วงษ์จำปา         ผู้ทรงคุณวุฒิ   รองประธานกรรมการสถานศึกษา
3. นางสุวิภาภรณ์  ชุ่มพรมราช  ผู้แทนผู้ปกครอง   กรรมการ
4. นางอัมพวัน  โพธิ์ปรึก      ผู้แทนองค์กรชุมชน  กรรมการ
5. นางนิคม  ปรมปรือ           ผู้แทนศิษย์เก่า   กรรมการ
6. นางสาวมาลี  สลัดทุกข์   ผู้แทนครู    กรรมการ
7. นายชวลิต  แผลงวัลย์      ผู้แทนองกร์ปกครองส่วนท้องถิ่น  กรรมการ
8. นายประสาท  ทุมวงษ์      ผู้แทนองค์กรศาสนา   กรรมการ
9. นายวิเชียร  วงษ์ราช    ผู้อำนวยการโรงเรียน    กรรมการและเลขานุการ

ข้อมูลทั่วไป


ชื่อโรงเรียนบ้านโคกวิทยา   ที่ตั้ง  เลขที่ 204   หมู่บ้าน  โคก  ตำบล ตระกาจ   อำเภอ กันทรลักษ์จังหวัด ศรีสะเกษ สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ  เขต 4
เขตพื้นที่บริการ
1. บ้านโคก                          หมู่ที่  1
2. บ้านพวงพยอม               หมู่ที่  8
3. บ้านบุเดื่อ                         หมู่ที่ 10

วันอาทิตย์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2555

หน้าแรก


โครงสร้างการบริหารงานตามภารกิจโรงเรียนบ้านโคกวิทยา


เพลงอาเซียนร่วมใจ


ทดลอง


ภาพกิจกรรมโครงการเพาะเห็ด






แนวคิดหลัก ยุทธศาสตร์ในการจัดการศึกษา


หลักการ แนวคิดการบริหารงาน
                รูปแบบในการบริหารงานเพื่อพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายใน สถานศึกษาได้มีนักวิชาการและองค์กรทางการศึกษาได้นำเสนอแนวคิดการบริหารงานเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ซึ่งนายทองสุข รวยสูงเนิน ศึกษานิเทศก์ 9 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 1 ได้สรุปแนวคิดการบริหารงาน 5 แนวคิดไว้ใน คู่มือปฏิบัติการ การบริหารงานวิชาการที่ส่งเสริมการพัฒนาวิชาชีพครู ไว้ดังนี้

                แนวคิดที่ 1 การบริหารงานอย่างเป็นระบบ
                                ระบบที่กล่าวถึงในที่นี้มีความหมายสำคัญอยู่ 2 ส่วน คือ ระบบที่เป็นหน่วยทำงานและระบบที่เป็นกระบวนการปฏิบัติงาน (กรมวิชาการ, 2535 : 7-12) ซึ่งมีรายละเอียดของการบริหารงานอย่างเป็นระบบตามความหมายทั้ง 2 ส่วน สรุปได้ คือ
                                1.  ระบบที่เป็นหน่วยทำงาน  เป็นการมององค์การหรือโรงเรียนในรูปของระบบตามความหมายนี้ เป็นการทำงานร่วมกันขององค์ประกอบต่าง ๆ ของโรงเรียนและมีจุดประสงค์เป้าหมายที่แน่นอนประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ของระบบดังนี้
                                1.1  องค์ประกอบในการทำงาน(ปัจจัย)
                                1.2  วิธีการทำงานร่วมกันขององค์ประกอบ(กระบวนการ)
                                1.3  เป้าประสงค์ของงานที่ทำ(ผลผลิต)
                                1.4  คุณประโยชน์ที่พึงเกิดขึ้นจากการทำงาน(ผลกระทบ)
                การบริหารงานอย่างเป็นระบบ จึงเป็นการจัดสภาพของหน่วยงานและงานภายในหน่วยงานให้มีความสัมพันธ์กันเชิงเหตุผลเป็นขั้นตอนที่ส่งผลต่อเนื่องกัน ตั้งแต่องค์ประกอบการทำงาน(ปัจจัย) จนถึงผลปลายทาง (ผลกระทบ) ดังแผนภาพ 

2.  ระบบที่เป็นกระบวนการปฏิบัติงาน อาจเรียกชื่ออย่างอื่นอีกในความหมายเดียวกัน เช่น การทำงานเป็นระบบ การทำงานเป็นกระบวนการหรือวิธีการเชิงระบบ เป็นต้น ลักษณะการทำงานเป็นระบบคือการทำงานที่มีขั้นตอนตามลำดับก่อนหลัง ตั้งแต่เริ่มงานจนเสร็จสิ้นครบวงจรการทำงาน ขั้นตอนที่กำหนดอาจมากน้อยต่างกัน ขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของงาน แต่ควรจะมีขั้นตอนสำคัญต่อไปนี้

2.1  ขั้นกำหนดปัญหา หรือความต้องการที่จะพัฒนางานว่าต้องการพัฒนาอะไรมีจุดมุ่งหมายและเป้าหมายอย่างไร
                                2.2  ขั้นวางแผนในการดำเนินการ เลือกวิธีการ เทคนิคที่จะพัฒนางานนั้นให้บรรลุเป้าหมาย วัตถุประสงค์
                                2.3  ขั้นลงมือปฏิบัติตามแผนที่กำหนดไว้
                                2.4  ขั้นติดตาม ตรวจสอบและปรับปรุงงาน สรุปผลงาน
                                โกวิท  ประวาลพฤกษ์ (2532 : 37-47) ได้กล่าวถึงการทำงานอย่างเป็นระบบในการนิเทศการศึกษาไว้เป็น 6  ขั้นตอน  คือ
                                1.  ขั้นตระหนักว่าต้องมีการพัฒนา
                                2.  ขั้นรู้จุดที่จะพัฒนา
                                3.  ขั้นรู้วิธีการพัฒนาในแต่ละจุด
                                4.  ขั้นลงมือปฏิบัติตามวิธีการที่กำหนด
                                5.  ขั้นตรวจสอบผลการปฏิบัติ
                                6.  ขั้นภูมิใจในผลงาน
                แนวคิดที่ 2 การบริหารแบบมีส่วนร่วมหรือการบริหารเชิงประสานสัมพันธ์
                                การบริหารแบบมีส่วนร่วม เป็นรูปแบบของการทำงานที่ยึดความเกี่ยวข้องผูกพันร่วมกันของสมาชิกในองค์การ ในการคิดตัดสินใจการร่วมปฏิบัติงาน ให้ข้อเสนอแนะและการเป็นเจ้าของกิจการหรือรับประโยชน์ร่วมกัน เอกชัย กี่สุขพันธ์ (2538 : 327-334) กล่าวถึงการบริหารแบบมีส่วนร่วมพอสรุปได้ว่า ความรู้สึกเกี่ยวข้องผูกพันนี้เป็นการสร้างความรู้สึกที่ดีในการปฏิบัติงานร่วมกันเกิดการทำงานเป็นทีม (Team work) ทำให้มีการต่อต้านน้อยลง มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ซึ่งกันและกัน ยอมรับความสามารถซึ่งกันและกันเกิดความไว้วางใจระหว่างสมาชิกในองค์การ เป็นผลดีต่อการพัฒนางานระดับของการมีส่วนร่วมเป็นความรู้สึกของบุคคลที่มีต่องาน ซึ่งมีระดับความเข้มดังนี้



ระดับความเข้มของการมีส่วนร่วมนอกจากจะเป็นระดับของจิตใจแล้วยังมีปริมาณของการมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ตามกระบวนการของการปฏิบัติงาน ซึ่งพอจะเขียนเป็นแผนภูมิของการมีส่วนร่วมได้ดังนี้


ระดับการมีส่วนร่วมนั้น ผู้บริหารจะเป็นบุคคลสำคัญที่จะเปิดโอกาสให้ผู้ร่วมงานให้มีบทบาท โดยการสร้างบรรยากาศในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การไว้วางใจผู้ร่วมงาน การยอมรับฟังความคิดเห็น การใช้เทคนิค การตัดสินใจโดยกลุ่ม เป็นต้น  นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับความรับผิดชอบของสมาชิกในองค์การ เวลา และสถานที่อีกด้วย ผู้บริหารจึงต้องรู้จัก วิเคราะห์คน วิเคราะห์สถานการณ์ ประกอบไปด้วย
                มีหลักการสำคัญ  4  ประการ ที่เป็นพื้นฐาน ปรัชญาในการบริหารเชิงประสานสัมพันธ์หลักการเหล่านี้มุ่งพัฒนาสัมพันธภาพที่วางไว้ (กรมวิชาการ, 2534 : 26)
                1.  กระบวนการบริหารทั้งกระบวนการ สร้างขึ้นด้วยสัมพันธภาพ ที่ผูกพันและไว้วางใจกัน ทั้งนี้ย่อมต้องอาศัยการเปิดเผยและความซื่อสัตย์ต่อกันระหว่างผู้บริหารและผู้ใต้บังคับบัญชา
                2.  ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติงานได้ดีเพราะเขาเข้าใจตนและตนเข้าใจปัญหา ไม่ใช่เพราะปฏิบัติงานตามที่ถูกสั่งหรือบังคับให้ปฏิบัติงาน
                3.  การตัดสินใจของผู้ปฏิบัติงานอย่างอิสระช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานภาคภูมิใจในผลงานเพราะมนุษย์แสวงหาสิทธิที่จะตัดสินใจด้วยตนเองมากกว่าถูกบังคับบัญชาหรือชักจูงให้ตัดสินใจ แม้ว่าผลของการตัดสินใจนั้น จะมีข้อสรุปตรงกับที่เขาได้คิดเอง ตัดสินใจเองก็ตาม
                4.  สร้างความไว้วางใจให้ผู้ปฏิบัติงานแก้ปัญหา ได้ด้วยตนเองโดยมีผู้บริหารคอยให้ความช่วยเหลือ จงอย่าเป็นผู้แก้ปัญหาให้ผู้ใต้บังคับบัญชา ถ้าบีบบังคับให้เขาแก้ปัญหาในฐานะผู้บริหาร เขาจะโกรธท่านและไม่พอใจกับการแก้ปัญหานั้น ถึงแม้จะได้ผลดีกว่าก็ตาม





วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย



วิสัยทัศน์
       โรงเรียนบ้านโคกวิทยา เป็นองค์กรทางการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคนให้เป็น คนเก่ง  เป็นคนดี  สามารถใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุขโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  ยึดมั่น   ในการปกครองระบอบประชาธิปไตย  อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
พันธกิจ
1.จัดการศึกษาให้กับนักเรียนตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 
2. นักเรียนได้รับการพัฒนาด้านวินัย  คุณธรรมจริยธรรมและการเรียนรู้เต็มตามศักยภาพ
3. จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลายให้เด็กเรียนรู้ตามความสนใจ
4. เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับนักเรียนรู้จักป้องกันตนเองจากพิษภัยของสิ่งเสพติดและเสริมสร้างสุขภาพ  อนามัยนักเรียน
5.พัฒนาครูให้มีความรู้  ความสามารถในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
6.ส่งเสริมให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม  ในการจัดการศึกษาร่วมสืบสานวัฒนธรรมไทย  วัฒนธรรมท้องถิ่นและ ส่งเสริมภูมิปัญญา
7.ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพของชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
8.ส่งเสริมกิจกรรมตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ
เป้าหมาย
1. นักเรียนจบการศึกษาภาคบังคับทุกคน
2.  นักเรียนมีคุณภาพการศึกษาตามเกณฑ์มาตรฐาน
3.  นักเรียนทุกคนดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข   
4.  ครูทุกคนมีความรู้ความเข้าใจ  และมีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนตามสาระการเรียนรู้
5.  ทุกฝ่ายได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาและร่วมสืบสานวัฒนธรรมไทย  วัฒนธรรมท้องถิ่นและส่งเสริมภูมิปัญญา
6.  นักเรียนทุกคนรู้จักป้องกันตนเองจากพิษภัยของสิ่งเสพติด
7.  โรงเรียนส่งเสริมและพัฒนาอาชีพของชุมชน  โดยนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในโรงเรียน

ตราสัญลักษณ์โรงเรียน


                เป็นรูปพัดอยู่ภายในกรอบปรัชญาของโรงเรียน   มีองค์ประกอบห่วงเทียน  ดอกบัวตั้งอยู่บนทั่งและคติธรรมของโรงเรียนมีความหมายสำคัญดังนี้               ห่วง  ห่วง        แทนภารกิจหลักในการจัดการศึกษา  คือระดับก่อนประถมศึกษาและระดับประถมศึกษา
เทียน  เล่ม       แทนปัญญาเปรียบเป็นแสงสว่างนำทางชีวิตให้เป็นสุข
ดอกบัว  ดอก  แทนความเจริญงอกงามของคนดีตามหลักพระพุทธศาสนา
ทั่ง                         หมายถึง  ปณิธานที่หนักแน่นมั่นคงในอันที่จะพัฒนาการศึกษาตามภารกิจให้ประสบผลสำเร็จ
                              ให้จงได้

ประวัติโรงเรียน


  ที่ตั้ง  เลขที่ 204   หมู่บ้าน  โคก   ตำบล ตระกาจ    อำเภอ กันทรลักษ์จังหวัด ศรีสะเกษ สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ  เขต 4
โรงเรียนบ้านโคกวิทยา    ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่  มิถุนายน  2476   ตั้งอยู่ที่บ้านโคก หมู่ที่  1   ตำบลตระกาจ  อำเภอกันทรลักษ์   จังหวัดศรีสะเกษ เดิมชื่อว่าโรงเรียนประชาบาลตำบลจาน เป็นสาขาโรงเรียนประชาบาลตำบลจาน 1 (บ้านชำ)   โดยนายสิน  พึ่งอาตม์  นายอำเภอกันทรลักษ์( กันทรลักษณ์) ในขณะนั้นเป็นผู้ดำเนินการจัดตั้ง และแต่งตั้งนายสุวรรณ  มีผลกิจ ดำรงตำแหน่งครูใหญ่คนแรกของโรงเรียน  โดยอาศัยศาลาวัดบ้านโคกเป็นสถานที่เรียน  ต่อมา พ..  2480  ทาง   ราชการได้แยกท้องที่การปกครองบ้านเสียวและบ้านหนองหว้าออกจากตำบลจานใหญ่  ตั้งเป็นตำบลเสียว  หมายเลขของโรงเรียนเปลี่ยนเป็น  โรงเรียนประชาบาลตำบลจาน 3  ”(วัดบ้านโคกโดยมีนายเมฆ  ส่งเสริม  ดำรงตำแหน่งครูใหญ่ในขณะนั้น
พ.ศ.2496  นายสนาม  เสนาภักดิ์  ได้รับตำแหน่งให้ดำรงตำแหน่งครูใหญ่  ได้ร่วมกับคณะครูขออนุญาตเปลี่ยนชื่อโรงเรียน  จากโรงเรียนประชาบาลตำบลจาน  3  เป็น  "โรงเรียนวัดบ้านโคก"พร้อมทั้ง  ขอแยกโรงเรียนออกจากวัด  ได้ร่วมมือกับประชาชนจัดหาที่ดินและเงินทุนสมทบการก่อสร้างอาคารเรียน  เอกเทศถาวร  โดยนายสนาม  เสนาภักดิ์  และ  นายหอม  ทุมวงษ์  ได้ร่วมกันบริจาคที่ดินเป็นสถานที่ก่อสร้างโรงเรียน  มีเนื้อที่  5  ไร่  71  ตารางวา
..  2514  องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ  ได้อนุมัติจัดสรรงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนแบบ  ป.1 . (ใต้ถุนสูง ขนาด  ห้องเรียน  เป็นเงิน  90,000  บาท  และดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จในเดือนสิงหาคม  และประกอบพิธีเปิดใช้อาคารเรียนเมื่อวันที่  12  กันยายน  2514  และรับอนุญาตให้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนจากโรงเรียนวัดบ้านโคกเป็น  โรงเรียนบ้านโคกวิทยา ”  ตามหนังสือจังหวัดศรีสะเกษ ที่ศก.53/4039 ลงวันที่  25  พฤศจิกายน  2514

..2521 ได้เปิดสอนชั้นประถมศึกษาปีที่  ตามแผนการศึกษาชาติ  พ.. 2520  และเริ่มใช้หลักสูตร ประถมศึกษา  พุทธศักราช  2521  เป็นต้นมา
..2525  จังหวัดศรีสะเกษได้แต่งตั้ง นายศักดิ์  ร้านจันทร์  ข้าราชการครูตำแหน่งอาจารย์ 1 ระดับ  3โรงเรียนบ้านทุ่งใหญ่ (คุรุราษฎร์บำรุง) ให้ย้ายมาดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนบ้านโคกวิทยา  แทนนายไพฑูรย์  ทองเสี่ยน  ที่ลาออก
.. 2528  ได้เปิดสอนชั้นเด็กเล็กและได้รับอนุมัติตำแหน่งผู้บริหารจาก  ครูใหญ่  2 – 4  เป็นอาจารย์ใหญ่  5 – 6  นายศักดิ์  ร้านจันทร์ ได้รับการเลื่อนและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่  ระดับ  5
.. 2529   วันที่  8   พฤษภาคม  2529   นายหมุ่ย  แก้วสง่า  พร้อมด้วยญาติ ได้มอบพระพุทธรูปปางมารวิชัย   ขนาดหน้าตัก   20  นี้ว  ให้เป็นพระพุทธรูปประจำโรงเรียน  และชาวบ้านได้บริจาคเงินสมทบสร้างศาลาที่ประดิษฐานพระพุทธรูป  เป็นเงิน   25,000  บาท
.. 2537 ได้รับการอนุมัติให้เปิดสอนชั้นอนุบาลตามโครงการขยายโอกาสทางการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา
                            ตามหนังสือสำนักงาน ก.ที่ ศธ  1502 ( สตม. )  / 03920  ลงวันที่ 4 มีนาคม  2540ได้เลื่อนและแต่งตั้งให้นายศักดิ์  ร้านจันทร์ ตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ เลขที่ 2635 เป็นผู้อำนวยการหน่วยงานทางการศึกษาเดิม ระดับ 8
ปี  พ..  2540  โรงเรียนได้รับการพิจารณาคัดเลือกให้เข้าโครงการปฏิรูปทางการศึกษาโดยกำหนดแนวทางการปฏิรูปทางการศึกษา  ด้าน  คือ  การปฏิรูปโรงเรียนและสถานศึกษา  การปฏิรูปครูและบุคลากรทางการศึกษา  การปฏิรูปหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอน  และการปฏิรูปการบริหารการศึกษา
ปี  พ..  2546    วันที่   13  กุมภาพันธ์   2546 นายลมัย  พวงเพ็ชร   ได้รับการพิจารณาให้ย้ายมาดำรงตำแหน่ง   ผู้อำนวยการโรงเรียน  ระดับ  8   แทนนายศักดิ์  ร้านจันทร์ที่ได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งที่โรงเรียนบ้านตูม  อำเภอศรีรัตนะ   จังหวัดศรีสะเกษ
ปี  พ.ศ. 2550  นายวิเชียร  วงษ์ราช  ได้รับการพิจารณาให้ย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน  แทน  นายลมัย  พวงเพ็ชร  ที่ได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งที่  โรงเรียนบ้านทุ่งโพธิ์